รายการ “คนละไม้ คนละมือ” ขึ้นกราบสักการะ “พระอุรังคธาตุ” ในองค์พระธาตุพนม จ.นครพนม เพื่อเผยแผ่พุทธประวัติ และ ความเป็นมา
1 min readรายการ “คนละไม้ คนละมือ” ขึ้นกราบสักการะ “พระอุรังคธาตุ” ในองค์พระธาตุพนม จ.นครพนม เพื่อเผยแผ่พุทธประวัติ และ ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ณ.วัดพระธาตุพนม ต.ธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม “นายชีวานนท์ พรรัตน์ธนิกกุล” พิธีกร ช่วง “คนละไม้_คนละมือ” รายการ “เปิดฟ้า” ออกอากาศ ทาง ททบ.5 ได้รับความเมตตา กรุณา พระเดชพระคุณเจ้า “พระเทพวรมุนี” ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ และเจ้าอาวาส “วัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร” อนุเคราะห์ บรรยายธรรมะพร้อมทั้ง อนุญาตให้ทีมงานถ่ายทำรายการ เพื่อเผยแผ่พุทธประวัติความเป็นมาของ “องค์พระธาตุพนม”
ในการนี้ ทางทีมงานรายการขอกราบนมัสการด้วยความเคารพอย่างสูง ที่ท่าน”พระครูศรีพนมวรคุณ” ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เมตตา กรุณา บรรยายพุทธประวัติ และความเป็นมาในพุทธกาลการสร้าง “พระธาตุพนม” ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งอีสาน พระบรมธาตุที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาของนครพนมมาแต่ โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธกาลประมาณ พ.ศ.๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรเจริญรุ่งเรือง ประดิษฐานอยู่บนภูกำพร้าตั้งตระหง่าน อยู่ริมฝั่งโขง เป็นสถานที่ครั้งหนึ่งพุทธองค์เคยเสด็จมาโปรดสัตว์น้อยโหญ่ ตามตํานานอุรังคธาตุกล่าวถึง พระมหากัสสปะและพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ได้นํา “พระอุรังคธาตุ” (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาจากชมพูทวีปและท้าวพญาผู้ครองนครทั้ง ๕ เป็นประธาน ในการสร้างที่ประดิษฐาน “พระอุรังคธาตุ” อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนมในปัจจุบัน
ทั้งนี้ทางรายการฯยังได้รับเกียรติจาก ดร.สุริยนต์ หลาบหนองแสง เลขาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม/ นายนพรัตน์ ฉัตรเพชรตระการ ที่ปรึกษาสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม/ นายชิสนุ เริงสังข์ ( อาจารย์ณัฐ ) เข้าร่วมสายธารธรรมเข้ากราบสักการะ “องค์พระธาตุพนม” ในครั้งนี้ด้วย จากนั้น “ดร.สุริยนต์ หลาบหนองแสง” เลขานุการสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม โดยมี “นายคมสิน ศรีมานะศักดิ์ ” อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนปิยะมหาราชาลัยเป็นประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม กล่าวประชาสัมพันธ์เชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวพุทธ และประชาชน เดินทางมายังจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นจังหวัดที่มี “พระธาตุประจำวันเกิด” ทั้ง 7 วัน ประดิษฐาน สามารถกราบสักการะได้โดยสะดวกตามพลังศรัทธา และจังหวัดนครพนม ยังเป็นแหล่งศึกษาการเรียนรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน พร้อมให้การต้อนรับกับทุกท่านด้วยใจยินดียิ่ง